หลักเกณฑ์การเสนอบทความและคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์
เพื่อตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

สถานที่ติดต่อ
งานวารสารวิชาการ สำนักงานคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี อาคาร พัชรปัญญา ชั้น 3 ที่อยู่เลขที่ 70 หมู่ที่ 4 ตำบล หนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71190 โทรศัพท์/โทรสาร 034-534072 E-mail : husokru.journal @gmail.com

นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์เผยแพร่
วารสารมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และแขนงวิชาที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ การจัดการ สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ พัฒนาสังคมและการศึกษา ตลอดจนบทวิเคราะห์ที่เสนอทางออกของปัญหาให้แก่สังคม

จริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน
ผู้นิพนธ์ควรตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของบทความที่วารสารกำหนด ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องแน่นอน พร้อมทั้งพิสูจน์อักษรก่อนที่จะส่งบทความนี้ให้กับทางกองบรรณาธิการ การเตรียมบทความให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสารจะทำให้การพิจารณาตีพิมพ์มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร ทั้งนี้ บทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาเสนอขอตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ หากมีการใช้ตาราง ภาพ หรือแผนภูมิของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อกองบรรณาธิการก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์

การพิจารณาและคัดเลือกบทความ
บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน โดยบทความผู้นิพนธ์ภายนอกได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกคนละ 1 ท่าน ส่วนบทความผู้นิพนธ์ภายในได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review)

ส่วนประเภทของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ตีพิมพ์บทความประเภทต่าง ๆ ดังนี้
1. บทความวิจัย
รายงานผลงานวิจัยใหม่ที่มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ เป็นเรื่องที่อยู่ความสนใจทันต่อเหตุการณ์และยุคสมัย ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ มาก่อน ควรมีองค์ประกอบดังนี้
1.1 ชื่อเรื่อง (Title) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยพิมพ์ชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและตามด้วยภาษาอังกฤษ
1.2 ผู้นิพนธ์ (Author) ชื่อและนามสกุลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
1.3 บทคัดย่อ (Abstract) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
1.4 คำสำคัญ (Keywords) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบุคำเป็นคำสำคัญของเนื้อหา ครอบคลุมชื่อเรื่องที่ศึกษา เหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นคำค้นหาข้อมูล
1.5 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนของเนื้อหาที่อธิบายถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา และเหตุผลนำไปสู่การศึกษาวิจัย และควรอ้างอิงเอกสารและงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยเพื่อให้มีน้ำหนักและเกิดความน่าเชื่อถือ
1.6 วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research Objectives) ระบุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของ การวิจัย
1.7 วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methods) อธิบายถึงกระบวนการดำเนินการวิจัยอย่างละเอียด และชัดเจน กล่าวถึงรายละเอียดของวิธีการศึกษาประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา และวิธีการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รวมทั้งสถิติที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล
1.8 ผลการวิจัย (Research Results) เสนอผลการวิจัยที่ตรงประเด็นตามลำดับขั้นของการวิจัย ควรจำแนกผลออกเป็นหมวดหมู่และสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยการบรรยายในเนื้อเรื่อง และแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยภาพประกอบ ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิ ตามความเหมาะสม
1.9 อภิปรายผลการวิจัย (Research Discussion) ผสมผสานเปรียบเทียบและผลการวิจัยให้เข้ากับหลักทฤษฏี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเชื่อมโยงผลการวิจัยให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาการวิจัย เพื่อให้มีความเข้าใจหรือเกิดความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้น รวมทั้งข้อดี ข้อเสียของวิธีการศึกษา เสนอแนะความคิดเห็นใหม่ ๆ ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์
1.10 ข้อเสนอแนะการวิจัย (Research Suggestions) ระบุข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้ และข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งต่อไป
1.11 เอกสารอ้างอิง (References) เป็นการอ้างอิงเอกสารในเนื้อหาให้ใช้ระบบ APA (American Psychological Association citation style )

2. บทความวิชาการ
หัวข้อและเนื้อหาควรชี้ประเด็นที่ต้องการนำเสนอให้ชัดเจนและมีลำดับเนื้อหาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ชัดเจน รวมถึงใช้ทฤษฎีวิเคราะห์และเสนอแนะประเด็นอย่างสมบูรณ์ ควรมีองค์ประกอบดังนี้
2.1 ชื่อเรื่อง (Title) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยพิมพ์ชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและตามด้วยภาษาอังกฤษบรรทัดถัดต่อมา
2.2 ผู้นิพนธ์ (Author) ชื่อและนามสกุลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2.3 บทคัดย่อ (Abstract) ให้มีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2.4 คำสำคัญ (Keywords) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบุคำเป็นคำสำคัญของเนื้อหา ครอบคลุมชื่อเรื่องที่ศึกษา เหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นคำค้นหาข้อมูล
2.5 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนแนะนำและปูพื้นเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านทราบข้อมูลเบื้องต้นของเนื้อหา
2.6 เนื้อหา (Content) เนื้อหาบทความ มีการแบ่งประเด็นเรื่องย่อย ๆ และการจัดเรียงลำดับเป็นไปตามรายละเอียดของเนื้อหา
2.7 บทสรุป (Conclusion) การสรุปเนื้อหาในบทความทั้งหมดออกมาอย่างชัดเจน กระชับ โดยมีการสรุปปิดท้ายเนื้อหาที่นำเสนอ
2.8 เอกสารอ้างอิง (References) เป็นการอ้างอิงเอกสารในเนื้อหาให้ใช้ระบบ APA (American Psychological Association citation style)

3. บทความปริทัศน์ และบทวิจารณ์หนังสือ
บทความที่ทบทวนและรวบรวมความรู้จากตำรา หนังสือใหม่ วารสารใหม่ และการแนะนำเครื่องมือใหม่ที่น่าสนใจหรือจากผลงานประสบการณ์ของผู้นิพนธ์มาเรียบเรียงขึ้น โดยมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์เปรียบเทียบในบทความ ควรมีองค์ประกอบดังนี้
3.1 บทนำ (Introduction) เป็นการกล่าวถึงความเป็นมาที่จะนำไปสู่การนำเสนอเนื้อหาสาระของบทความ
3.2 เนื้อหา (Content) แยกตามประเด็นที่ต้องการนำเสนอให้ครอบคลุม พร้อมการอ้างอิงเอกสารที่เกี่ยวข้อง
3.3 บทสรุป (Conclusion) เป็นการสรุปเนื้อหาในบทความทั้งหมดอย่างชัดเจนและกระชับ
3.4 เอกสารอ้างอิง (References) เป็นการอ้างอิงเอกสารในเนื้อหาให้ใช้ระบบ APA (American Psychological Association citation style)

การส่งบทความ
บทความที่จะตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ส่งด้วยตนเองทาง E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ต้องประกอบด้วยแบบฟอร์มการส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ พร้อมบทความต้นฉบับ ส่งมาที่ งานวารสารวิชาการ สำนักงานคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี อาคาร พัชรปัญญา ชั้น 3 ที่อยู่เลขที่ 70 หมู่ที่ 4 ตำบล หนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71190 โทรศัพท์/โทรสาร 034-534072 กรณีบทความได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์ จะแจ้งให้ผู้นิพนธ์ส่งบทความต้นฉบับที่แก้ไขครั้งสุดท้าย พร้อมซีดีรอม (CD ROM) 1 แผ่น ทั้งนี้ผู้นิพนธ์ต้องมีสำเนาเก็บไว้ด้วยเพื่ออ้างอิง

การตรวจสอบบทความและพิสูจน์อักษร
ผู้นิพนธ์ควรตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของบทความที่วารสารกำหนด ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องแน่นอน พร้อมทั้งพิสูจน์อักษรก่อนที่จะส่งบทความนี้ให้กับทางกองบรรณาธิการ การเตรียมบทความให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร จะทำให้การพิจารณาตีพิมพ์มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร ทั้งนี้ บทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาเสนอขอตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ หากมีการใช้ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อกองบรรณาธิการก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์

รูปแบบบทความและการพิมพ์เนื้อหาบทความ
1. การเตรียมต้นฉบับบทความ มีรายละเอียดดังนี้
1.1 ขนาดต้นฉบับ ขนาดหน้ากระดาษ A4 โดยมีการตั้งค่าหน้ากระดาษความกว้าง 19 เซนติเมตร (7.48 นิ้ว) และความสูง 26.50 เซนติเมตร (10.40 นิ้ว) โดยเว้นระยะห่างระหว่างขอบกระดาษด้านบนและล่าง 3.00 เซนติเมตร (1.18 นิ้ว) ด้านซ้ายและขวามือ 2.50 เซนติเมตร (0.98 นิ้ว)
1.2 รูปแบบการพิมพ์ เนื้อหาในบทความส่วนแรก จัดเป็นแบบ 1 คอลัมน์ คือ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้วิจัย บทคัดย่อ คำสำคัญ และเชิงอรรถ อยู่ส่วนหน้าแรก ส่วนที่สอง จัดเป็นแบบ 1 คอลัมน์ คือเนื้อหาบทความที่อยู่ส่วนหน้าที่สองเป็นต้นไป
1.3 ใช้รูปแบบตัวอักษร TH SarabunPSK พิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด
1.4 หัวกระดาษ ประกอบด้วยเลขหน้า ขนาดตัวอักษร 16 ตัวธรรมดา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านขวาบน
1.5 ชื่อเรื่อง/ชื่อบทความภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 20 ตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ
1.6 ชื่อผู้นิพนธ์ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุล ไม่ต้องมีคำนำหน้า เว้น 2 เคาะระหว่างชื่อและนามสกุล ขนาดตัวอักษร 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษใต้ชื่อเรื่อง
1.7 เครื่องหมายเลข1 เขียนไว้บนนามสกุลผู้นิพนธ์ เพื่อระบุสังกัดคณะ หน่วยงาน และอีเมลของผู้นิพนธ์ เพื่อระบุเชิงอรรถ (Footnote) ไว้ด้านล่างกระดาษ
1.8 เชิงอรรถ (Footnote) ให้เขียนไว้ด้านล่างของส่วนหน้าแรก ที่มีเครื่องหมายเลข1 กำกับไว้บนนามสกุลผู้นิพนธ์ ให้ระบุสังกัดคณะ หน่วยงาน และอีเมลของผู้นิพนธ์ ขนาดตัวอักษร 14 ชนิด ตัวธรรมดา กรณีที่ผู้นิพนธ์มีสถานภาพเป็นนักศึกษาให้ระบุหลักสูตรที่นักศึกษากำลังศึกษาอยู่ เช่น นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี เป็นต้น ทั้งนี้ การระบุสังกัดคณะ หน่วยงานของผู้นิพนธ์นั้น ผู้นิพนธ์ต้องระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วย
1.9 หัวข้อของบทคัดย่อภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 18 ตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย
1.10 เนื้อหาบทคัดย่อภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 ตัวธรรมดา ให้จัดเป็นแบบ 1 คอลัมน์ บรรทัดแรกเว้น 7 ตัวอักษรจากขอบกระดาษด้านซ้ายและพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน ส่วนเนื้อหาบทความที่อยู่หน้าที่สองเป็นต้นไปให้จัดเป็นแบบ 1 คอลัมน์เช่นกัน ทั้งนี้ ควรมีความยาวไม่เกิน 350 คำ และลักษณะของบทคัดย่อควรประกอบไปด้วย วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา และคุณค่าหรือการนำไปใช้ประโยชน์
1.11 หัวข้อคำสำคัญ/อังกฤษ ขนาดตัวอักษร 14 ตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ระบุคำสำคัญที่นำไปใช้เป็นคำค้น คำสำคัญแต่ละคำคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ทั้งนี้ ควรมีคำสำคัญ 3-5 คำ โดยต้องจัดเรียงคำสำคัญตามตัวอักษร
1.12 หัวข้อเรื่อง ขนาดตัวอักษร 18 ตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย
1.13 หัวข้อย่อย ขนาดตัวอักษร 16 ตัวธรรมดา ระบุหมายเลขหน้าหัวข้อย่อยโดยเรียงตามลำดับหมายเลข
1.14 จำนวนต้นฉบับ ควรมีความยาวอยู่ระหว่าง 10-12 หน้า โดยนับรวมตาราง รูปภาพ และแผนภูมิ
1.15 การอ้างอิงแทรกเนื้อหา และการระบุแหล่งที่มา โดยมีรูปแบบการอ้างอิงแบบนามปีโดยการอ้างอิงเอกสารไว้ส่วนหน้าหรือส่วนหลังของข้องความนั้น ๆ โดยระบุผู้แต่งคั่นด้วยจุลภาค (,) ปีที่พิมพ์และเลขหน้า ตามรูปแบบดังนี้ (ชื่อ/นามสกุล,//ปีพิมพ์/:/หน้า) เช่น (สรินทิพย์ คงครินทร์, 2561 : 5-10) ถ้าผู้เขียนเป็นชาวต่างชาติให้ระบุนามสกุล คั่นด้วยจุลภาค (,) ปีที่พิมพ์และเลขหน้า ตามรูปแบบดังนี้ (นามสกุล,//ปีพิมพ์/:/หน้า) เช่น (Mohamed, 2018 : 18-22) เป็นต้น
1.16 ตาราง รูปภาพ และแผนภูมิ กรณีเป็นตารางให้คำอธิบายอยู่ด้านบน กรณีที่เป็นรูปภาพหรือแผนภูมิ คำอธิบายให้อยู่ด้านล่าง

1.16

2. การเขียนเอกสารอ้างอิง
ใช้ตามรูปแบบของ APA (American Psychological Association citation style) หากผู้เขียนมีมากกว่า 3 คน ให้ใส่ชื่อคนที่ 1 แล้วตามด้วยคำว่า และคณะ หรือ et al. (and others) โดยจัดเรียงตามพยัญชนะ สระ ตามรูปแบบการอ้างอิงตามลำดับก่อนหลังให้ถูกต้อง

2.1 หนังสือ (Book)
ชื่อ/นามสกุลผู้เขียน.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์(ถ้ามี).//เมืองที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์.
Author.//(Year of Publication).//Title of Book.//Edition of Book.//Place of Publication/:/Publisher
Name.
ตัวอย่าง
กุสุมา รักษมณี. (2534). การวิเคราะห์วรรณคดีไทยตามทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต. กรุงเทพฯ
: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ชำนาญ รอดเหตุภัย. (2553). การวิจัยทางภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Goodwin-Gill, Guy S. (2006). Free and Fair Election : New Expanded Edition.
Geneva : Inter Parliamentary Union.
หมายเหตุ : พิมพ์ครั้งที่ 1 ไม่ต้องระบุ แต่ถ้าพิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป ให้ระบุจำนวนครั้งที่พิมพ์ต่อจากชื่อหนังสือ

2.2 รายงานทางวิชาการ
ชื่อ/นามสกุลผู้เขียน.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่อง.//เมืองที่พิมพ์/:/หน่วยงานที่เผยแพร่.
Author.//(Year of Publication).//Title.//Edition of Book.//Place of Publication/:/Publisher Name.
ตัวอย่าง
อัชราพร สุขทอง. (2558). การพัฒนาเทคนิคการสอน "เรือมอันเร" จากภูมิปัญญาชาวบ้านสุรินทร์. สุรินทร์ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
Hickman, George A. (2010). The Management of Teaching for Quality Improvement Chiang Mai Thailand. Chiang Mai : Chiang Mai University.

2.3 วิทยานิพนธ์
ชื่อ/นามสกุลผู้เขียน.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์.//วิทยานิพนธ์ระดับ/(บัณฑิต, มหาบัณฑิต,
ดุษฎีบัณฑิตให้ระบุลงให้ชัดเจน)//ชื่อสถานศึกษา.
Author.//(Year of Publication).//Title of Thesis.//Degree of Thesis.//Publisher
Name.
ตัวอย่าง
ฐมณฑ์ปวีร์ เพชรรัตน์. (2555). การสำรวจความต้องการในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อประเมิน
ตำราเรียนในการฝึกอบรมภาษาอังกฤษของพนักงานสายงานปิโตเลียมนอกชายฝั่ง.
วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Mei, Y. R. (2012). Error Analysis of Vietnamese Students in “Gei” Sentences and Teaching Suggestions. Master Thesis of Chinese international education Zhejiang University.

2.4 รายงานการประชุม
ชื่อ/นามสกุลผู้เขียน.//(ปีที่พิมพ์).//"ชื่อบทความ."//ในชื่อรายงานการประชุม.//วันเดือนปีที่
จัด.//เลขหน้า.//สถานที่/:/สำนักพิมพ์.
Author.//(Year of Publication).//“Title of Article.”//In Title.//Date of
Publication.//page.//Place of Publication/:/Publisher Name.
ตัวอย่าง
วิสูตร อยู่คง (2537). "การฟื้นตัวของป่าชุมชนดงใหญ่." ในการบรรยายเรื่องการฟื้นฟูป่าโดยช่วยต้นไม้ให้สืบพันธุ์ตามธรรมชาติ. วันที่ 11 เมษายน 2537. หน้า 10-11. กรุงเทพฯ : ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชน.
Paitoon Sinlarat. (1995). "Success and Failure of Faculty Development in Thai University." In Preparing Teachers for all the World's Children : An Era of Transformation Proceedings of International Conference, Bangkok. pp. 217-233. Bangkok : UNICEF.

2.5 วารสาร
ชื่อ/นามสกุลผู้เขียน.//(ปี,/เดือน/วันที่พิมพ์).//"ชื่อบทความ."//ชื่อวารสาร.//ปีที่พิมพ์(ฉบับที่
พิมพ์)/:/เลขหน้าแรก–หน้าสุดท้าย.
Author.//(Date of Publication).//“Title of Article.”//Name of Journal.//Year
(Volume)/:/page.
ตัวอย่าง
ณัชชานุช พิชิตธนารัตน์. (2561, มกราคม-มิถุนายน). “การทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี.” วารสารสหวิทยาการวิจัย. 7(1) : 71-81.
Gere, A. R. (2018). “Writing and Conceptual Learning in Science.” Journal of Written Communication. 36(1) : 99-135.

2.6 หนังสือพิมพ์
ชื่อ/นามสกุลผู้เขียน.//(ปี,/เดือน/วันที่พิมพ์).//"ชื่อบทความ."//ชื่อหนังสือพิมพ์.//เลขหน้าแรก–
หน้าสุดท้าย.
Author.//(Date of Publication).//“Title of Article.”//Name of Newspaper.//page.

ตัวอย่าง
เสกสรร กิตติทวีสิน. (2555, ตุลาคม 17 ). "หลังสู้ฟ้า-หน้าสู้ดิน." มติชน. หน้า 6.
Jewell, Mark. (2006, November 7). "Silent Aircraft' Spreads its Wings." Bangkok
Post. p. B5.

2.7 สื่ออินเตอร์เน็ต
ชื่อ/นามสกุลผู้เผยแพร่.//(ปี).//"ชื่อบทความ."//[ประเภทสื่อที่เข้าถึง].//เข้าถึงได้จาก/:/
แหล่งข้อมูลหรือที่อยู่เว็บไซต์//สืบค้น/วัน/เดือน/ปีที่สืบค้น.
Author.//(Year of Publication).//“Title of Article.”//[Online].//Available/:/Name of
website.//Retrieved/Date of Publication.
ตัวอย่าง
สิริรัตน์ เกิดสม. (2552). “การพัฒนาทักษะการเขียนมาตราตัวสะกดแม่ ก กา โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://203.155.220.242/ watthongnoppakun/sirirut.pdf สืบค้น 10 กรกฎาคม 2559.
Wright, S. (2011). “Why Writing Skills Are More Important Than Ever?.” [Online]. Available : http://study.com/articles/WhyWriting_Skills_are_More_ Important_Than_Ever.html Retrieved December 15, 2018.

2.8 การสัมภาษณ์
ผู้ให้สัมภาษณ์.//(ปี,/เดือน/วันที่).//ตำแหน่ง(ถ้ามี).//สัมภาษณ์.
Name of Interview.//(Date of Publication).//position.//Interview.
ตัวอย่าง
ณรงค์เดช รัตนานนท์เสถียร. (2558, กุมภาพันธ์ 14). อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏ
กาญจนบุรี. สัมภาษณ์.
Waterworth, Peter. (2003, December 1). Principal lecturer, Deakin University.
Interview.

Line icon1  Line icon2

FB-icon1.png  FB icon2

Phone icon1   Phone icon2

email  Email icon3